เมืองอวิชชา

 มีโยมที่เคารพนับถือกันได้ถวายคำแนะนำว่า..ขออย่าให้แสดงทัศนะใด ๆ เกี่ยวกับการชุมนุมประท้วง เพราะเป็นของการเมือง จะทำให้คนที่มีเวลาน้อยไม่เข้าใจ และจะทำให้ไม่ดำรงอยู่ในความยุติธรรม จะพลอยเสียศรัทธาไปเสียเปล่า ๆ..ซึ่งก็รับฟังด้วยดีและอนุโมทนาในความปรารถนาดีที่เป็นห่วง
            เรื่อง ความยุติธรรม นั้นจะต้องเกิดจากกระบวนทัศน์หลายประการ คือ
                    อตีตังสญาณ     มีญาณระลึกถึงอดีตทั้งของตนและคนอื่น ในที่นี้คือมีความรู้เรื่องประวัติศสตร์ทั้งภายในประเทศ และ ประวัตศาสตร์โลก
                   ปัจจุบันนังสญาณ มีญาณรู้ปัจจุบัน คือ ได้ติดตามสถานการณ์ปัจจุบันอย่างละเอียด ลึกซึ้ง ถูกต้อง
                   อนาคตสญาณ มีญาณรู้อนาคตว่าจะเกิดสิ่งนั้นสิ่งนี้ต่อบุคคล บ้านเมือง โลก  ก็คือการนำเอาประวัติศาสตร์ บวก เหตุการปัจจุบัน   แล้วนำผลรวมมาพิจารณา   เกิดเป็นพยากรณ์   และให้เป็น      เอกังสพยากรณ์ ทำนายนิ้วเดียวแบบโกณฑัญญะทำนายมหาปุริสลักษณะของสิทธัตถะกุมาร  อคติ  ต้องมีใจปราศจากอคติอันเป็น โมหจิต  ถ้ามีอคติแล้วพูด  เขียนก็จะเข้าลักษณะ ตาบอดคลำช้าง  ในอคติ   ๔ ประการนั้น มีอคติกิเลสตัวใดตัวหนึ่ง ก็ต้องมีอีก ๓ ตัวเสมอ
 สถานภาพ คือความน่าเชื่อถือ ได้แก่ อายุ ความรู้ ชาติตระกูล ยศศักดิ์ ประสบการณ์ อันเป็นที่ศรัทธา และ ธรรมวุฒิ คือ ความเป็นผู้ดำรงอยู่ในคุณธรรม
                     การสำรวจกระบวนทัศน์ในตนเอง เพื่อนำเสนอความคิดเห็นต่อสังคมผ่านสื่อต่าง ๆนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งและต้องตั้งอยู่ในจังหวะจะโคน ต้องดูตาม้าตาเรือซึ่งก็ได้แก่สัปปุริสธรรม สัมฤทธิผลจะเกิดขึ้นแก่สังคมอันก่อให้เกิดสติปัญญา อันเป็นสัมมาทิฎฐิ แต่ถ้าปราศจากกระบวนทัศน์และสัปปุริสธรรมความสูญเปล่าอันเป็นความล้มเหลวก็จะเกิดขึ้นแก่ตัวผู้แสดงวิสัยทัศน์ถึงแม้จะ พูด เขียน ผ่านสื่อได้ทุกวันก็ไร้ประโยชน์จึงขอยืนยันต่อผู้ปรารถนาดีทุกท่านว่าจะไม่ทำอย่างนั้นเด็ดขาด
เปิดหนังสือพระราชนิพนธ์ เรื่องพระมหาชนก อ่านอย่างช้า ๆ เป็นครั้งที่ร้อยกว่าแล้วติดใจในพระราชนิพนธ์ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงแปลไว้ ขอถอดความเล่าเรื่องว่า พระเจ้ามหาชนก (ยังไม่ใช่พระโพธิสัตว์อันจะอุบัติมาเป็นพระพุทธเจ้าครองราชสมบัติกรุงมิถิลานคร วิเทหรัฐ พระองค์มีพระราชโอรส ๒ พระองค์คืออริฎฐชก (พี่โปลชนก (น้องต่อมาทรงแต่งตั้งพระองค์พี่เป็นอุปราช พระองค์น้องเป็นเสนาบดีกาลต่อมาเมื่อพระเจ้ามหาชนกเสด็จสวรรคตอริฏฐะชนกเสด็จขึ้นครองราชย์ทรงแต่งตั้งโปลชนกผู้เป็นพระราชอนุชาเป็นอุปราช พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชนิพนธ์ว่า...
                 ครั้นแล้วอมาตย์ใกล้ชิดคนหนึ่งไปเฝ้ากราบทูลพระราชาหลายครั้งว่า ขอเดชะ พระอุปราชเล่นไม่ซื่อกับพระองค์พะยะค่ะความสิเนหาของพระอริฏฐชนกต่อพระอนุชาทนทานคำอันอาบพิษอันซากซ้ำมิได้พระโปลชนกจึงถูกจองจำและควบคุมรักษาในคฤหาสน์ใกล้พระราชนิเวศน์ พระโปลชนกทรงอธิษฐานว่าถ้าข้าพเจ้าคิดไม่ซื่อต่อพระเชฏฐราชจริงเครื่องจองจำจงตรึงมือเท้าของข้าพเจ้าแม้ประตูก็จงปิดสนิท ถ้าข้าพเจ้ามิได้คิดทรยศ เครื่องจองจำจงหลุดจากมือและเท้าของข้าพเจ้า แม้ประตูก็จงเปิดทันใดนั้นเครื่องจองจำได้หักลงเป็นท่อน ๆแม้ประตูก็เปิดกว้างต่อจากนั้นพระโปลชนกก็เสด็จออกไปยังชายแดนแห่งหนึ่งไปตั้งพระองค์ ที่นั้น ตอนนี้พระอริฏฐชนกราชไม่สามารถจับพระองค์ได้....ต่อมามีการสงครามอริฏฐชนกสิ้นพระชนย์
                 ท่านผู้อ่านลองอ่านคำที่ขีดเส้นใต้ไว้หลาย ๆ ก็จะเห็นความจริงของสังคมนักบริหารและประชาชนบ้านเมืองไทยของเรา ตรงนี้เกิดเป็นข้อคิดว่า...
                                       เป็นผู้ใหญ่ ให้ระวังหู เป็นผู้น้อยให้ระวังหัว
                                       เป็นผู้ใหญ่ระวังผู้น้อยเป่าหู
                                       เป็นผู้น้อยระวังผู้ใหญ่ปั่นหัว
               สงครามสายเลือดระหว่างพี่เกิดขึ้นตรงนี้นั่นเองมิได้แตกต่างไปจากเหตุกรณ์ในบ้านเมืองของเราเลย...
                                     คนไทยเรานั้น
                                     อ่านหนังสือน้อยมาก
                                     อยากมีบทบาท
                                     อยากแสดงความสามารถ
                                     อยากให้ผู้มีอำนาจโปรดปราน
              ที่เป่าหูก็เป่ากันไป... ที่ปั่นหัวก็ปั่นกันไป งงๆกันทั้งบ้านทั้งเมือง เหมือนจิ้งหรีดที่ถูกเข้าปั่นหัวแล้วก็กัดกันอย่างหน้ามืดตามัวเมืองเราจึงมืดไปด้วยทิฏฐิที่เกิดจากอวิชชาเมื่อผู้บริหารหรือ ผู้มีบทบาทในทางสังคมได้แสดงความคิดหรือแผนการ แผนงาน&nbsp นั้นก็เป็นทฤษฎีอวิชชาแล้วก็เผยแพร่อวิชชาศาสตร์เป็นโรคอุบาทว์ในบ้านเมือง
หันมาดูพระเจ้าอริฏฐชนกอย่างพิเคราะห์ใคร่ครวญก็จะพบความบกพร่องคือ
                                        อ่อนวัย
                                       ไร้ประสบการณ์
                                        บริวารเป็นพิษ
                                        จิตใจหวาดระแวง
                                        ตะแบงเพราะคิดว่ามีอำนาจ
                                        ปราศจากความเที่ยงธรรม
                   การได้อ่านพระราชนิพนธ์อย่างมีโยนิโสมนสิการคือการใคร่ครวญแล้วทำความฉลาดล่วงหน้าในการบริหาร จะทำให้เกิดปัญญากำจัดปัญหาทั้งสิ้นทั้งปวงขอให้ท่านผู้มีอำนาจกลับไปอ่านใหม่และขอให้รู้ว่า... คำข้าวค่อย ๆขบเคี้ยวจะได้โอชรส คำพูดค่อยๆ ขอบคิดจะได้อรรถรส และธรรมรส....