มนุสสัมมกถา : ถวายพระธรรมเทศนา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ

มนุสสธัมมกถา
ถวายพระธรรมเทศนา
แด่
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
โดย
พระราชวิจิตรปฏิภาณ (สุนทร ญาณสุนฺทโร ป.ธ.๕)
วัดสุทัศนเทพวราราม แขวงราชบพิธ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
ณ วัดสนามพราหมณ์ จังหวัดเพชรุบรี
วันอังคาร ที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๕๑
----------
 
ขอถวายพระพร เจริญพระราชสิริสวัสดิ์พิพัฒนมงคลพระชนมสุขทุกประการ  จงมีแด่สมเด็จบรมบพิตร สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ บัดนี้ อาตมภาพจักรับพระราชทานถวายวิสัชนาพระธรรมเทศนาในมนุสสธัมมกถา ฉลองพระเดชพระคุณประดับพระปัญญาบารมี ถ้ารับพระราชทานถวายวิสัชนาไปมิได้ต้องตามโวหารอรรถาธิบายแห่งพระธรรมเทศนาบทใดบทหนึ่งก็ดี ขอเดชะพระเมตตาคุณ พระกรุณาคุณ พระขันติคุณ จงทรงพระกรุณาโปรดพระราชทานอภัยแก่อาตมะผู้มีปัญญาน้อย ขอถวายพระพร
 
นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส
นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส
นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส
ธมฺมจารี สุขํ เสตีติ
 
                ณ บัดนี้ จักรับพระราชทานถวายวิสัชนาพระธรรมเทศนาในมนุสสธัมมกถา ฉลองพระเดชพระคุณประดับพระปัญญาบารมี โดยพระราชศรัทธาและพระราชกุศลใคร่ทรงสดับพระธรรมเทศนาแห่งสมเด็จบรมบพิตร สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ
                ที่กล่าวว่า “โดยพระราชศรัทธา” คือทรงกอปรด้วยพระราชศรัทธาเชื่อมั่นอย่างเที่ยงแท้ว่า ตถาคตโพธิสัทธา พระพุทธเจ้ามีจริง ตรัสรู้จริง หนึ่ง, กัมมสัทธา ทรงเชื่อหลักกรรมที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสสอนไว้ หนึ่ง, วิปากสัทธา ทรงศึกษา พิเคราะห์ ตามคำสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่ากรรมให้ผลจริง จากอดีตชาติสู่ปัจจุบันชาติ จากอดีตเมื่อการกระทำนั้นผ่านไปพ้นเพียงชั่วอึดใจเดียวสู่ปัจจุบันคือขณะนั้น ๆ หนึ่ง, กัมมัสสกตสัทธา ทรงเชื่อว่าสัตว์เหล่าใดทำกรรมใดไว้ดีหรือเลว ก็ต้องเป็นผู้รับมรดกกรรมนั้น หนึ่ง,
                ในความเชื่อเรื่องกรรมนั้น สามารถมองเห็นได้โดยเทียบในปัจจุบัน คือเห็นความแตกต่างระหว่างมนุษย์และสัตว์ทั้งหลาย จึงพิจารณาตามหลักกรรมอันเป็นคำสอนของสมเด็จพระชินวรพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งปรากฏในจูฬกัมมวิภังคสูตร อันมองปัจจุบันแล้วทะลุลั่นไปสู่อดีต โดยสรุปก็คือ
 
คน ที่มีอายุยืนยง  
คน ร่ำรวยทรัพย์สมบัติ     
คน มียศศักดิ์อัครฐาน
คน มีรูปร่างงามโสภา
คน ไม่มีโรคภัยทุกข์โทษ
คน ชื่อเสียงไม่วิบัติ 
คน ไม่ถูกคดีหมิ่น
คน มีบริวารดาษดื่น
คน มีปัญญา
เพราะ ไม่ปลงชีวิตสัตว์
เพราะ ชอบบำเพ็ญทาน
เพราะ เป็นคนไม่ขี้อิจฉา
เพราะ เป็นคนไม่ขี้โกรธ
เพราะ ไม่ทรมานสัตว์
เพราะ รักษาศีล
เพราะ ไม่ใส่ร้ายป้ายสีผู้อื่น
เพราะ มีเมตตา
เพราะ ชอบสดับธรรรม
                                          
                คำว่า “คนมี” ทั้ง ๑๐ ประการนั้น คือวิบากและเป็นกัมมัสสกตกรรมในฝ่ายดีอันเห็นได้ในปัจจุบัน คำว่า “เพราะ” คือเหตุแห่งกรรมในอดีต
                ในกัมมัสสกตกรรมนั้น มีข้อเดียวที่มิใช่เป็นผลกรรมเก่าเท่านั้น แต่เป็นกรรมใหม่ของบางคนที่ถูกกระทำ คือ การใส่ร้ายป้ายสีนั้น อาจเกิดมีขึ้นได้ เพราะคนเข้าใจผิด อิจฉา หาทางโค่นล้ม ซึ่งผู้กระทำมีจิตมืดมิดด้วยมิจฉาทิฏฐิ ได้กระทำต่อผู้ที่เป็นคนดี คนมีคุณ คนมีบุญ คนมีบารมี ผู้ใดกระทำการใส่ร้าย มุ่งร้าย ปองร้าย ทำร้าย ผู้กระทำนั้นย่อมได้รับผลเองทั้งในปัจจุบันชาติและอนาคตชาติ คือย่อมได้รับความวิบัติ ๑๐ ประการ ดั่งที่สมเด็จพระบรมศาสดาจารย์ได้แสดงไว้ในขุททกนิกายแห่งธรรมบทว่า
 
โย ฑณฺเฑน อฑณฺเฑสุ
ทสนฺนมญฺญตรํ ฐานํ
อปฺปทุฏฺเฐสุ ทุสฺสติ
ขิปฺปเมว นิคจฺฉติ  เป็นอาทิ
 
                                   ถอดพุทธภาษิตแปลเป็นความว่า...
      ผู้ใดใจสามานย์
ด้วยทุบหรือด่าตี
ทำลายความดีงาม
ผู้นั้นพึงมั่นหมาย
หนึ่ง เกิดโรคาพาธ
ดุจมีดอันแหลมคม
สอง เสียซึ่งสินทรัพย์
ขัดสนจนวันตาย
สาม ถูกคนเกลียดชัง
ถูกตีด่าเป็นอาจิณ
สี่ โรคอันแรงร้าย
ไร้แพทย์พยาบาล
ห้า จิตของผู้นั้น
ฟุ้งซ่านร่านร้อนเร่า
หก รับราชการ
เพราะผลตนคดงอ
เจ็ด ถูกเขาเล่าลือ
เผอิญให้เดินชน
แปด เล่าเขาเหล่านี้
ญาติปล่อยลอยเท้งเต้ง
เก้า มีธุรกิจ
กอปรการงานใดใด
สิบ ไซร้ไฟไหม้บ้าน
อุทกภัยไม่ปรานี
ผู้ใดใจสามานย์
พินาศสิบมาตรา
ทำลายราญผลาญคนดี
หรือด้วยเล่ห์เพทุบาย
ด้วยข่าวทรามจนเสียหาย
รับเคราะห์ร้ายอันช้ำตรม
โรคอุบาทว์สาดสาสม
เชือดแทงอยู่มิรู้วาย
รวยแล้วกลับล่มสลาย
อย่ามั่นหมายมีอยู่กิน
ไปกระทั่งทั่วทุกถิ่น
ถูกทำร้ายกายพิการ
เกิดในกายมหาศาล
หาหยูกยามาบรรเทา
ต้องจาบัลย์พลันโศกเศร้า
บางคนหนาเป็นบ้าบอ
ยศดักดานพาลทดท้อ
ต่อผู้ไม่ให้ร้ายตน
ต้องเสียชื่อทุกแห่งหน
คดีความเลวทรามเอง
ย่อมเป็นหน่ายเขนง
เกลียดชังหน้าระอาใจ
ก็เพี้ยนผิดจนเผลอไผล
ผลกำไรไม่เกิดมี
ทรัพย์ศฤงคารพาลป่นปี้
วาตภัยไล่บีฑา
ทำลายราญคนดีหนา
มรณาตกนรก
                                        
                ข้อต่อมาที่กล่าวว่า “มีพระราชประสงค์คือ มีพระราชประสงค์ ๒ ประการ คือ มีพระราชประสงค์ทรงบำเพ็ญบุญกิริยาวัตถุให้ครบ ๑๐ ประการ และมีพระราชประสงค์ทรงนำพาพระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชบริพาร ข้าราชการ ข้าราชสำนัก และปวงพสกนิกรทั้งหลาย ให้มีโอกาสร่วมในการทรงบำเพ็ญพระราชกุศลบุญกิริยาวัตถุทั้ง ๑๐ ประการ อันนับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ ก่อให้กิดความปลื้มปีติใจแก่ตนเองว่าตนเองยังได้มีโอกาสร่วมการบำเพ็ญพระราชกุศลโดยพระมหากรุณาธิคุณ เช่นเมื่อก่อนจะมาก็อาจมีผู้ถามว่า วันนี้จะไปไหน ก็สามารถตอบได้ว่า ไปฟังธรรมร่วมกับพระราชินี เมื่อกลับไปถึงที่ทำงานหรือที่บ้านช่องห้องหอของตน ก็ต้องมีผู้ถามว่า ไปไหนมา ก็สามารถตอบได้อย่างภาคภูมิใจว่า ไปฟังเทศน์กับพระราชินี พระราชินีทรงเปิดโอกาสให้ได้ฟังเทศน์ด้วย ข้อนี้นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ บรรดาปวงท่านทั้งหลายได้ร่วมในการพระราชกุศล เรียกว่าได้พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ทำบุญร่วมชาติ ตักบาตรร่วมขัน ปลูกต้นไม้ร่วมต้น สร้างกุศลร่วมกัน ที่สำคัญก็คือพสกนิกรมิต้องกังวลด้วยระเบียบข้อปฏิบัติใด ๆ อันเป็นเรื่องของระเบียบราชสำนัก แต่ควรดำรงจิตตั้งอยู่ในระเบียบบุญอันเรียกชื่อว่า ศาสนพิธี”
                ขอพระราชทานแจกแจงเรื่องบุญกิริยาวัตถุ ๑๐ประการ ที่สมเด็จพระบรมศาสดาจารย์ได้ตรัสทางบุญไว้คือ
ทานมัย
ศีลมัย
ภาวนามัย
อปจายนมัย
เวยยาวัจจมัย
ปัตติทานมัย
ปัตตานุโมทนามัย
ธัมมเทสนามัย
ธัมมัสสวนามัย
ทิฏฐุชุกรรม
บุญเกิดจากการให้ทาน
บุญเกิดจากการรักษาศีล
บุญเกิดจากการกำจัดมลทินในใจ
บุญเกิดจากการกราบไหว้บูชา
บุญเกิดจากการอาสาช่วยงาน
บุญเกิดจากการบอกงานบุญและแบ่งผลบุญ
บุญเกิดจากการร่วมทุนและมีใจอนุโมทนา
บุญเกิดจากการนิมนต์พระมาแสดงธรรม สอนสั่ง
บุญเกิดจากการฟังแล้วนำไปปฏิบัติ
บุญเกิดจากการกำจัดความเห็นผิดในจิตของตน
                           
                ถ้าการบุญใดไม่มีการสดับธรรม กระบวนบุญที่จะให้ผลทั้งในชาตินี้และชาติหน้าก็ขาดหายไปหลายประการ ดังนั้น ในการที่สมเด็จบรมบพิตร สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ ทรงมีพระราชหฤทัยใน ธัมมเทศนามัย คือ ทรงใคร่ศึกษาพระธรรม สนทนาธรรม สดับธรรม อีกทั้งทรงมีพระมหากรุณาธิคุณแสดงธรรม โดยทรงเลือกคัดจัดสรรธรรมะ แล้วทรงบันทึกพระสุรเสียงเพียงดังองค์ท้าวมหาพรหมแล้วพระราชทานแก่ชนทั่วไปนั้น แสดงถึงพระราชหฤทัยที่มั่นในธัมมกามตา ย่อมนำมาซึ่งความรุ่งเรืองแห่งปัญญาในพระองค์และผู้จงรักภักดี ดังพุทธภาษิตที่มีอยู่ว่า
ธมฺมกาโม ภวํ โหติ
ผู้ใคร่ในธรรมะ เป็นผู้เจริญ ดังนี้
                เมื่อพระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการ ข้าราชบริพาร และพสกนิกรทั้งหลาย ทราบพระราชอัชฌาศัยแห่งสมเด็จบรมบพิตร สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐแล้ว ก็ควรที่จะได้ขวนขวายร่วมในการพระราชกุศลทุกครั้งไป จักได้ตามเสด็จไปในทุกที่ทุกแห่งทุกภพทุกชาติ จนถึงแดนอมตมหานฤพาน
                บัดนี้ จักรับพระราชทานถวายวิสัชนาพระธรรมเทศนาโดยพระราชประสงค์ในมนุสสธัมมกถา อันเป็นข้อปฏิบัติให้มนุษย์ทั้งหลายได้รับสมบัติ ๓ ประการ คือ มนุสสสมบัติ คือสมบัติได้แก่ความอยู่ดีมีสุขในโลกมนุษย์ สวรรค์สมบัติ ความสุขในสวรรค์ และนิพพานสมบัติ ได้แก่ความสุขคือนิพพาน ความสุขคือสมบัติ ๓ ประการนั้น ประมวลกล่าวได้ว่า เมื่อมีชีวิตอยู่ก็อยู่อย่างเชิดหน้า มรณาแล้วได้ไปเกิดบนสวรรค์ เป็นพระอรหันต์ในอนาคต
                มนุสสธรรม อันจะนำให้ได้ประสบสุขเสวยสมบัติ ๓ ประการนั้น สมเด็จพระทรงธรรม์ได้ตรัสไว้ ๑๐ ประการ คือ
 
กตัญญูกตเวทีต่อบิดามารดา
ตั้งใจเล่าเรียนศึกษา
ตั้งหน้าทำกิน
รักษาศีล ๕ ให้กายวาจาหมดจด
รักษาศีลอุโบสถเพื่อเปลี้องปลดราคะ
แผ่เมตตาเพื่อกำจัดโทสะ
ทำบุญสุนทานเพื่อประหารโลภะ
สวดมนต์เพื่อชำระกิเลส
อ่านธรรมฟังเทศน์เพื่อเสริมปัญญา
บำเพ็ญสมถะวิปัสสนาเพื่อถอนตัณหาอุปาทาน
                                                               
                ประการที่ ๑ กตัญญูต่อบิดามารดา คือบุตรธิดาพึงระลึกถึงว่า บิดามารดาเป็นผู้มีพระคุณอย่างเลิศล้น คือ เป็นผู้ที่อุ้มไม่หนัก,เหนื่อยไม่พัก,รักไม่ลวง,ห่วงไม่เลิก,เบิกไม่คิด,ผิดไม่แค้น, ตายแทนลูกได้, ถ้าจะกล่าวถึงบิดามารดาโดยสถานะ ท่านก็ดำรงอยู่ใน ๔ สถานะ คือเป็นพระพรหม เป็นบุรพาจารย์ เป็นพระอรหันต์ เป็นผู้สงเคราะห์ ดังพระพุทธพจน์ว่า
พฺรหฺมาติ  มาตาปิตโร
อาหุเนยฺยา จ  ปุตฺตานํ
ปุพฺพาจริยาติ วุจฺจเร
ปชาย  อนุกมฺปกา
 
 
                       ถอดแปลเป็นใจความว่า...
     พ่อแม่เป็น
สอนผิด -ถูก
เป็นอรหันต์
เป็นผู้ให้
พรหมสี่พักตรา
จริยา
ทองคำ
ให้ให้
รักษาลูก
อาจารย์ใหญ่
ผ่องอำไพ
ใครมิปาน
              สถานะของความเป็นพระพรหมคือ มีเมตตา มีความรักและปรารถนาดีตลอดเวลา, กรุณา มีใจการุณย์พร้อมช่วยเหลือ, มุทิตา มีใจยินดีปรีด์เปรมเมื่อบุตรธิดาได้ดีมีสุข, อุเบกขา ไม่เติมให้ช้ำยามตกระกำลำบาก ดังจะเห็นได้จากความเป็นพระพรหมของบิดามารดา คือ
     คิดถึงลูก
ยามลำเค็ญ
ยามได้ดี
ตกต่ำเหลือ
ก็เยี่ยมหน้า
ปรากฎหน้า
หน้าปรีดา
หน้าพ่อ-แม่
มาให้เห็น
มาช่วยเหลือ
มาจุนเจือ
แค่สองคน
                    สถานะของความเป็นบุรพาจารย์ คือสอนอาจาระได้แก่กิริยาอัชฌาศัย ให้ดำรงในคุณธรรม โดยทำตนเองเป็นต้นแบบ เพื่อให้บุตรธิดาซึ่งเป็นต้นกล้าประพฤติตาม
                สถานะของความเป็นอรหันต์ทองคำ คือไม่ประพฤติตนทุจริต ไม่มีจิตประกอบด้วยโลภโมห์โทสันในบุตรธิดา
                สถานะในความเป็นผู้ให้ได้แก่บุตรธิดา คือให้ ๑๐ประการ ได้แก่ ให้มีกาย ให้การเกิด ให้มีกิน ให้ที่อยู่ ให้มีความรู้ ให้มีคู่เบียด ให้มีเกียรติ ให้มีบุญ ให้มีทุนไปปรโลก ให้มีธรรมะดับโศกในจิตใจ
                เมื่อบุตรธิดาได้ทราบถึงพระคุณอันเทียบด้วยฟ้ามหาสมุทรแล้ว ก็พึงกตัญญูกตเวที คือ เมื่อรู้พระคุณแล้วก็ตอบแทนพระคุณด้วยปฏิบัติต่อมารดาบิดา ดังนี้
       เป็นลูก
 เอื้ออาทร
รักษาทรัพย์
เลี้ยงให้มี
       แทนไม้เท้า
แทนดวงตา
แทนพยาบาล
เป็นลูกแก้ว
        ยามพ่อแม่
ประคองจิต
ครั้นตายลง
จัดงานศพ
        ทั้งเก้าข้อ
องค์สมเด็จ
เรียกว่า "ลูก-
ทำแล้วมี
เชื่อฟัง
กิจธุระ
เกียติตระกูล
อยู่กิน
ยามพ่อแม่
ยามพ่อแม่
หมอบเฝ้า
เนรมิต
ใกล้ล่วงลับ
ให้สดใส
ปลงจิต
ให้สอดคล้อง
เก้าขั้น
พระศาสดา
กตัญญู
มงคล
คำสั่งสอน
ไม่ผละหนี
คูณทวี
สิ้นลำเค็ญ
แก่ชรา
แลไม่เห็น
ทุกเช้า-เย็น
ดั่งคิดปอง
ดับชีวิต
ไม่หม่อนหมอง
คิดไตร่ตรอง
ประเพณี
นี้นั่นหนา
ทรงบ่งชี้
กตเวที"
แก่ตนเอย
                       บุตรธิดาผู้กตัญญูกตเวทีทั้ง ๙ ขั้นดังพรรณนามา ย่อมจะได้รับอุดมมงคลแก่ตน ๖ ประการ คือ ยามตกต่ำไม่มีสูญหาย ถึงคราวตายก็ฟื้น ปืนยิงไม่ออก หอกแทงไม่เข้า เทพเจ้ารักษา พระราชาหรือผู้บังคับบัญชาโปรดปราน สมเด็จพระบรมศาสดาจารย์ได้ทรงบำเพ็ญมาและได้รับผลานิสงส์เช่นคราวครั้งเมื่อเสวยพระชาติเป็นพระยาช้าง,เป็นพระมหาชนก, เป็นวานรโพธิสัตว์, เป็นโคชื่อนันทิยะ, เป็นสุวรรณสามดาบส เป็นต้น
                ประการที่ ๒ ตั้งใจเล่าเรียนศึกษา ข้อนี้สมเด็จพระนรเชษฐ์ศาสดาได้ตรัสถึงการพัฒนาตนให้มีความรู้ ๔ ประการ คือ
สุตะ
จินตะ
ปุจฉา
ลิขิตตะ   
ตั้งใจ สดับ จับประเด็น
มีวิจารณปัญญาเห็นสิ่งอันเป็นคุณและโทษ
สงสัยไม่สั่งสมอมความเฉาโฉด
จดจารึกเพื่อเป็นประโยชน์ต่อการทบทวนค้นคว้า
                                       
                     ความว่า...
เป็นนักเรียน
เป็นนักเรียน
เป็นนักเรียน
เป็นนักเรียน
เพียรดู-ฟัง
เพียรขบคิด
หมั่นไต่ถาม
จับปากกา
ด้วยตั้งจิต
ปริศนา
ตามวิชา
จารึกเอย
                                                             
                  ประการที่ ๓ ตั้งหน้าทำมาหากิน คือเข้าสู่กระบวนการทำงานอันเป็นอาชีพ เพื่อเลี้ยงปากท้องของตนและบุคคลที่เกี่ยวข้อง แต่ทั้งนี้ต้องมีวิธีการทำงานบริหารตน ดังนี้
    ทำงาน คือ  ทำงาน
สั่งงานทุกขั้นตอน
สั่งงานให้ตรงคน
ระวัง และ ว่องไว
กิริยามารยาท
ยึดมั่นขันติธรรม
ขัดข้อง ต้อง สิ่งใด
พินิจและติดตาม
เงินทองต้องประหยัด
จ่ายมากจะยากจน
การพนันจงหันหนี
เธคคลับและผับบาร์
ว่างงานอ่านหนังสือ
ความรู้หรือคือขนม
เจ้านายต้องเคารพ
เพื่อนวานงานใดใด
กฎเกณฑ์ปฏิบัติ
อย่าหัวหมอทำงอแง
เงินทองตรองตระหนัก
ไร้ทุกข์สุขสำราญ
เลี้ยงพ่อและเลี้ยงแม่
ลูกเมีย และ ลูกผัว
ทาน ศีล ภาวนา
เป็นทุนหนุนนำเข้า
 อย่าริอ่านมาทำงอน
ต้องจารึกบันทึกไว้
จะมีผลความวางใจ
ให้ถ้วนถี่เร่งรี่ทำ
อย่าอุกอาจและล่วงล้ำ
ประคองใจไม่วู่วาม
หรือสงสัยให้สอบถาม
ให้ถ้วนถี่หน้าที่ตน
กลัววิบัติและขัดสน
เป็นหนี้สินคนนินทา
เป็นสิ่งที่กาลีหนา
อีกสุราอย่าภิรมย์
หมั่นหาซื้อมาสะสม
ชีวิต งาน หวานชื่นใจ
พร้อมนอบนบและกราบไหว้
รีบทำให้อย่าไฉแช
อย่าเหลี่ยมจัดตั้งข้อแม้
หรือตั้งแง่กับนายงาน
จงตั้งหลักและปักฐาน
ถ้ามีบ้านเป็นของตัว
จงดูแลให้ถ้วนทั่ว
อย่าเลยละหน้าที่เรา
อย่าร้างราเถิดหนาเจ้า
สู่สวรรค์ นิพพาน แล.
 
                ประการที่ ๔ คือ รักษาศีล ๕ ให้กายวาจาหมดจด ได้แก่ศีลกิจกรรมและศีลกิจวัตร ศีลกิจกรรมคือสมาทานศีลในงานบุญพิธีและกุศลพิธี ส่วนศีลกิจวัตรคือสมาทานในวันพระ หรือเป็นนิจศีลตลอดชีวิต เพื่อให้กายวาจาหมดจด เมื่อได้รักษาศีลแล้ว ศีลก็อำนวยอานิสงส์แก่ผู้รักษา ประมวลได้ว่า
 

ศีลเป็นแก้วมณีที่มีแสง
ศีลเป็นกำแพงป้องกันความชั่วและคนชั่ว
ศีลเป็นอาภรณ์ประดับตัว
ศีลเป็นป้องกันความเมามัวจากอบาย
ศีลเป็นเป็นเหมือนเกสรที่ภมรแสวงหา
ศีลเป็นที่ศรัทธาของคนทั้งหลาย
ศีลส่งขึ้นสู่สวรรค์ครั้นเมื่อตาย
ศีลเป็นถนนสายเอกสู่พระนิพพาน

                  ประการที่ ๕ รักษาศีลอุโบสถเพื่อเปลื้องปลดราคะ ได้แก่การสละสลัดเครื่องผูกมัดรัดรึงคือ บุตร ธิดา สามี ภรรยา สมาทานอุโบสถศีลในวันพระด้วยการค้างคืนที่วัดหรือปฏิบัติที่บ้าน ถ้าไม่มีความจำเป็นประการใด ก็ให้ค้างคืนที่วัด ถ้าจำเป็นก็ปฏิบัติที่บ้าน เป็นการบ่งบอกถึงความสละละวางเรียกว่าตัดบ่วงห่วงมารเสียได้
                ประการที่ ๖ แผ่เมตตาเพื่อกำจัดโทสะ คือการกำจัดโทสะพยาบาทอาฆาตเบียดเบียน ด้วยการเจริญเมตตาภาวนาว่า
                                            
สัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิดแก่เจ็บตาย ด้วยกัน
ทั้งหมดทั้งสิ้น อย่าได้มีเวรแก่กัน อย่าได้เบียดเบียนกัน
อย่าได้พยาบาทกัน จงรักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด
                การแผ่เมตตานี้นิยม ๒ วาระ คือ หลังจากทำความดีและก่อนที่จะเข้านอน เพื่อชำระใจให้หมดจดจากโทสะพยาบาทอันเป็นนิวรณ์ตะกอนใจ ผู้ภาวนาต้องปลงพยาบาทให้ตก อย่าโกหกพระพุทธเจ้า ย่อมได้รับอานิสงส์ของการเจริญเมตตา ๑๑ ประการ อย่างน้อยที่สุดผู้ภาวนาก็เกิดสภาวะ ๓ ประการ คือ ปากสวย หน้าใส ใจเป็นสุข
                ประการที่ ๗ ทำบุญสุนทานเพื่อประหารโลภะ คือการรู้จักการเสียสละด้วยรู้ผลของการเสียสละว่า มือที่หงายแล้วกำ ไม่สู้มือที่คว่ำแล้วแบ เพราะมือที่หงายแล้วกำสร้างแต่ความช้ำชอก ส่วนมือที่คว่ำแล้วแบออกสร้างแต่ความชื่นใจ การสละวัตถุอันบุคคลมุ่งมาดปรารถนาให้เป็นสาธารณประโยชน์นั้น เป็นการกำจัดทุกข์ สร้างสุขและสมบัติแก่ตนเอง ทั้งในชาตินี้และชาติหน้า
                ประการที่ ๘ สวดมนต์เพื่อชำระกิเลส คือกิเลสจะหมดไปจากใจตนเพราะการสวดมนต์ไหว้พระ อย่างน้อยวันละ ๒ เวลา คือ เช้าและก่อนนอน การสวดมนต์มีผลดี คือมนตรากำจัดมลทิน มนต์กำจัดมาร และที่สูงสุดคือสวดมนตราจนเกิดเป็นมนต์ขลังพลังจิต พิชิตทุกข์ภัยโรค อำนวยโชค และกำจัดสรรพเสนียดจัญไร โดยมีข้อแม้ว่า สวดให้ถูกธรรมเนียม สวดให้ถูกทำนอง
ประการที่ ๙ อ่านธรรมฟังเทศน์เพื่อเสริมปัญญา คือการอ่านคำสอนในพระไตรปิฎกอันเป็นคัมภีร์แท้และถูกต้อง จากนั้นก็สดับธรรมเพื่อเสริมปัญญาบารมี
ประการที่ ๑๐ บำเพ็ญสมถะวิสัสสนาเพื่อถอนตัณหาอุปทาน ข้อนี้ต้องยึดตามพระบรมราโชบายของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ที่ได้พระราชนิพนธ์บททำวัตรเช้า เพื่อให้พุทธศาสนิกชนเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐานด้วยบทสังเวคปริกิตตนปาฐะ คือการเจริญวิปัสสนาในขันธ์ ๕ อาทิว่า...รูป อนิจฺจํ รูปไม่เที่ยง เป็นต้น
หากแม้ว่ามนุษยชนเจริญด้วยมนุสสธรรม ๑๐ ประการดังถวายวิสัชนามานี้ ย่อมเป็นที่รับรองได้ว่าจะต้องได้รับสมบัติ ๓ ประการ คือ มนุสสสมบัติ คือ อยู่ก็เชิดหน้า, สวรรค์สมบัติ คือ มรณาแล้วไปสู่สวรรค์, และนิพพานสมบัติ คือ เป็นพระอรหันต์ในอนาคต
อาตมภาพรับพระราชทานถวายวิสัชนามาพอสมควรแก่พระราชศรัทธาแห่งพระราชกุศล ท้ายแห่งพระธรรมเทศนานี้ ขอพระราชทานถวายอาเศียรวาทและถวายพระพรชัยมงคล แด่สมเด็จบรมบพิตร สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ ในนามคณะสงฆ์และพสกนิกรทั้งที่มาสโมสรในการพระราชกุศลและมิได้มีโอกาสมาในคราครั้งนี้ว่า
                                                โอ้ราชินี ผู้เป็นศรีแห่งสยามนามกระเดื่อง
                                แม่เจ้าแห่งชาวเมือง นามลือเลื่อง สิริกิติ์ ธ ทรงธรรม์ขวัญประชา
                                                เคียงบาทองค์ภูมิพล ด้นแดนไพรไกลสุดไกลพระฟันฝ่า
                                เพรียบพร้อมจริยา เผยวาจาทุกน้ำถ้อย ร้อยดวงมาน ซ่านทรวง
                                                ปราศทุกข์สบสุขสันต์ เพราะแม่นั้นเฝ้าพิทักษ์รักและหวง
                                คุณท่านนั้นใหญ่หลวง เป็นดั่งฝนหล่นจากสรวง สู่ปวงไทย
                                                ข้าแต่องค์ราชินี ลูกไทยพลีชีพจงรักยิ่งเหนือใด
                                ร่มเกล้าเจ้าไผท ขอจงได้เกษมสุข ทุกกาลเทอญ.
ทีฆายุกา โหตุ มหาราชินี
เอวํ ก็มีด้วยประการฉะนี้
ขอถวายพระพร