NO VOTe และ VOTE NO (ไม่ไปเลือกตั้งและไปแต่ไม่เลือก)

วันอาทิตย์ที่   ๓  กรกฎาคม  ๒๕๕๔   เป็นวันที่ชาวไทยจะได้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง   ๒ ระบบ คือ บัญชีรายชื่อพรรคและส.ส.   เพื่อให้ผู้ได้รับเลือกตั้งเข้ามาบริหารประเทศไทย  อันเป็นไปตามระบบประชาธิปไตย       ส่วนเมื่อผู้ใดพรรคใดได้รับการเลือกตั้งแล้วจะเข้ามา    บริหาร หรือ ผลาญ”  ประเทศไทย ก็สุดแต่ ปณิธาน หรือ โลภขันธสันดาน  ส่วนตัวและพรรคการเมืองที่ตนเองสังกัด    ถ้าพวกเขารักถิ่นฐานบ้านเกิด  พวกเขาก็เอาความรู้ความสามารถเข้ามาบริหารประเทศชาติให้เจริญก้าวหน้า  ถ้าพวกเขามากด้วยโลภขันธสันดาน ก็จะพาร่วมกันร่วมโกงกินประเทศชาติ โกงเพื่อให้ลูกหลานของตนเองอยู่ดีกินดี   ส่วน  ประชาชนจะยากจนข้นแค้น คนพวกนี้จะไม่อนาทรร้อนใจ   คนที่มากด้วยโลภขันธสันดานแล้วเข้ามาเล่นการเมืองจึงมีพฤติกรรมเหมือนสัตว์สี่เท้าชนิดหนึ่งที่ใหญ่กว่าจิ้งจก  ขนาดเท่ากับจระเข้  แต่สัตว์ชนิดนี้มีความสามารถพิเศษคือ มันกินได้ทั้งในน้ำ บนบก  บนต้นไม้   มันกินได้ทั้งสัตว์สดรวมถึงซากศพอันเน่าเหม็น   โบราณจึงตั้งชื่อบาลีว่า หีนะ ออกเสียงว่า ฮีนะ คำไทยๆ คือตัวหายนะ  พูดไปพูดมาก็กลายเป็นคำว่า เหี้ย นั่นเอง

            รัฐธรรมนูญได้กำหนดวิธีการเลือกตั้งโดยเกรงว่า ประชาชนจะไม่ไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง  จึงมีการกำหนดบทลงโทษประชาชนเอาไว้ว่า ผู้ใดไม่ไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้งจะเสียสิทธิต่างๆ ผู้ไม่ไปใช้สิทธิ์ อาจเรียกได้ว่า No  Vote คือไม่ไป หรือไปแล้วไม่กากบาท

            ในบัตรเลือกตั้งยังมีช่องพิเศษ คือให้ใช้สิทธิ์กากบาทไม่เลือกทั้งระบบบัญชีรายชื่อพรรคและระบบส.ส. อย่างนี้ เรียกว่า Vote  “No”

            เป็นที่ถกเถียงกันในวงการกฎหมายถึงคำว่า Vote  “No” จนทำให้ผู้รู้กฎหมายกลายเป็นศัตรูคู่อาฆาตกัน   จนถึงด่าทอวิวาทบนสื่อ  จนถึงเถียงกันบนหน้าจออินเตอร์เน็ต  ซึ่งดูเหมือนว่าใครๆ ก็เป็นผู้ถูกต้องทั้งนั้น     สุดแต่ใครจะมีชื่อเสียงในทางกฎหมาย  ส่วนข้อถกเถียงนั้นหามีใครสักคนไม่

ที่ทำหนังสือสอบถาม   ศาลรัฐธรรมนูญ”    ส่วนศาลรัฐธรรมนูญก็ทำตัวเหมือนพญานาคที่เฝ้าถาดทองคำ       พอถาดทองคำลอยทวนน้ำแล้วจมลงไปซ้อนกับถาดของพระพุทธเจ้าพระองค์ที่ผ่านมา  พญานาคก็ลืมตาดูด้วยความเกียจคร้านแล้วอุทานว่า    อ้อ...จะมีพระพุทธเจ้าองค์ใหม่อีกแล้ว  จาก

นั้นก็หลับต่อไปด้วยความเกียจคร้าน   ไม่เคยโผล่เศียรพ้นน้ำเพื่อดูหน้าผู้ที่จะเป็นพระพุทธเจ้า   ศาลรัฐธรรมนูญก็คงประดุจเดียวกันที่ถ้าไม่มีผู้ใดยื่นหนังสือร้องเรียนก็หลับเฝ้ารัฐธรรมนูญต่อไปอย่างเกียจคร้าน ปัญหาการตีความในรัฐธรรมนูญเรื่อง Vote  “No”  ซึ่งเป็นประเด็น...วิจารณ์ และวิวาท... อย่างกว้างขวางในสังคม  แล้วประชาชนก็ไม่รู้ว่า Vote  “No” นั้น   ทัศนะของใครถูกต้อง   เมื่อไม่มีการวินิจฉัยโดยศาลรัฐธรรมนูญอันเป็นไปทางหลักการที่แท้จริงในการร่างรัฐธรรมนูญ  ประชาชนไทยก็ไขว้เขว ไม่รู้ว่า  ถ้า Vote  “No”   จะมีผลดีหรือผลร้ายอย่างไร  จะไม่ไปเลือกตั้งก็เสียสิทธิ์ในบางเรื่อง    ไปเลือกตั้งแต่ไม่มีศรัทธานักการเมืองในเขตตัวเองก็จำใจต้องกากบาท     ทั้งๆที่ใจไม่ยอมรับ    ถ้ากากบาท   Vote  “No” ก็ไม่รู้ว่าผลดี  ผลเสียเป็นอย่างไร     มันเป็นเรื่องที่องค์กรที่เกี่ยว

ข้องกับรัฐธรรมนูญเอาแต่นั่งประชุมและนั่งบัลลังก์แต่ขาดการติดตามสภาพสังคมและเสียงวิพากษ์

วิจารณ์ทำตัวเหมือนเจ้าอาวาสที่สร้างธรรมาสน์ใช้กลางศาลาด้วยราคาหลายแสน  แต่เจ้าอาวาสก็ถือ

เอาว่าต้องมีโยมนิมนต์เทศน์จึงจะขึ้นธรรมาสน์ได้      ธรรมาสน์วัดราคาเป็นแสนเป็นล้านก็เลยร้างพระเทศน์  ไก่ขึ้นไปทำรังบนธรรมาสน์บ้าง   สุนัขขึ้นไปนอน มดไปวางไข่ใต้เบาะ ฝุ่นผงลง  แมลงมุมชักใยดักแมลงกิน  พอมีโยมนิมนต์ก็ปัดกวาดธรรมาสน์ทีหนึ่ง     พอเทศน์แล้วก็เข้าสู่อีหร็อบเดิม  แต่ถ้าเจ้าอาวาสเอาใจใส่สังคมสดับตรับฟังความเป็นไปของสังคม     ก็จะวิเคราะห์แล้วนำปัญหามาพิจารณา    ค้นหาคำสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า   แต่งเทศน์แล้วขึ้นธรรมาสน์ทุกวันพระหรือหากมีการประชุมโยมแล้วขึ้นเทศน์สั่งสอน โยมก็จะเข้าใจ  ปัญหาก็จะหมดไปจากสังคม   ศาลรัฐธรรมนูญกับเจ้าอาวาสส่วนใหญ่ก็คงมีความเกียจคร้านพอ ๆ กัน ศาลก็ฝุ่นเกาะ ธรรมาสน์ก็ฝุ่นจับ ประชาชนและญาติโยมก็อับเฉาเพราะขาดความเข้าใจที่แท้จริงและขาดปัญญา

            Vote  “No”  คือการใช้สิทธิในการลงคะแนนในบัตรเลือกตั้งด้วยการ  ไม่เลือก”   ในบัตรลงคะแนน มีการวิจารณ์มาก  บ้างก็ว่า ไร้ประโยชน์   ไหนๆ ไปแล้วก็ต้องเลือก เพราะถ้าไม่เลือกก็เสียเวลาเสียเงินตนเอง  เสียงบประมาณรัฐ    เลือกคนดีเท่าที่ตนเองหาไม่ได้  ก็ขอให้เลือกคนที่ชั่วน้อยที่สุด  ซึ่งคงหมายความว่า ถ้าเห็นว่าพรรคการเมืองและผู้สมัครเป็นคนชั่วทั้งนั้น แต่ในบรรดาพรรคและผู้สมัครใดชั่วน้อยที่สุด      ก็ขอให้เลือกพรรคและผู้สมัครพรรคนั้น  คนนั้น   ...เออ!...แปลกนะ  พรรคการเมืองและผู้สมัคร    ยังมีเลวมากเลวน้อยกว่ากัน...ประชาชนก็ต้องมานั่งเปรียบ

เทียบความเลวของพรรคและผู้สมัครว่าใครเลวมากเลวน้อยกว่ากัน ประเทศใดในโลกนี้มีพรรคและผู้สมัครที่เลวมากเลวน้อยเหมือนเมืองไทยหรือเปล่า ?  เห็นแต่เขาพูดว่า...บรรดาพรรคและผู้สมัครที่ดีที่สุด... มีแต่เมืองไทยของเราที่ต้องเลือกพรรคและผู้สมัครที่เลวน้อยที่สุด   เพื่อจะได้โกงสัมปทานรัฐน้อยกว่าพรรคที่เลวมาก   แล้วไอ้พรรคและผู้สมัครที่เลวน้อยที่สุด     เมื่อได้รับเลือกแล้ว     พอมีโอกาสสัมปทานรัฐเพียงแค่ปีสองปี     มันก็โกงสัมปทานรัฐจนมีความเลวเท่ากับหรือเกินกว่าพรรคและผู้สมัครที่คิดว่าเลวแล้วไม่เลือก

            Vote  “No”   มีประโยชน์อันใดที่รัฐธรรมนูญไม่ได้ระบุไว้ ?   ควรเพิ่มเติมต่อไป   หรือควรวินิจฉัยเป็นแม่บท ?  ...ขอแสดงทัศนะอันแตกต่างจากกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่า...ในกรณีที่ประชาชนไปใช้สิทธิเลือกตั้งจะกี่เปอร์เซ็นต์ก็ตาม    แต่ถ้าในเขตนั้นๆ  ประชาชน Vote  “No” มาก

กว่าผู้สมัครที่ได้คะแนนมากที่สุด  ต้องมีการเลือกตั้งซ่อมทั้งเขต     แสดงว่าประชาชนปฏิเสธพรรคการเมืองและผู้สมัคร     เมื่อมีการเลือกตั้งซ่อม พรรคนั้นๆ  ไม่มีสิทธิ์ส่งผู้สมัครลงเลือกตั้งซ่อม และผู้สมัครในเขตนั้นที่แพ้   Vote  “No”   ก็ไม่มีสิทธิ์ลงเลือกตั้งซ่อม        เพราะประชาชนเขาปฏิเสธทั้งพรรคและผู้สมัครแล้ว...

            ทัศนะนี้ไม่มีตราไว้ในรัฐธรรมนูญและกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ     แต่ก็เป็นเรื่องที่ร่างกฎหมายประกอบในโอกาสต่อไปได้  ส่วนพรรคและผู้สมัครที่ได้คะแนนสูงสุดและต่ำลงมา    แต่มีคะแนนน้อยกว่า  Vote  “No”     ก็หมดสิทธิ์ลงสมัครซ่อม  เพราะประชาชนเขาพากันประจานพรรคและผู้สมัครในความไร้ความสามารถและเห็นความเลว     ประชาชนจึงพากัน Vote  “No”  นอกจาก

หมดสิทธิ์ส่งและลงสมัครซ่อมแล้ว       ก็ควรจะเลิกเล่นการเมือง     เอาปี๊บคลุมหัวด้วยความอับอายประชาชน       เพราะการแพ้ Vote  “No”     เป็นการถูกประชาชนลงโทษอย่างรุนแรงทั้งพรรคและผู้

สมัคร พูดง่ายๆ คือ พรรคและผู้สมัครถูกประชาชนเนรเทศจากการเมือง พรรคและผู้สมัครก็ไม่ควรจะหน้าด้านส่งผู้สมัครรายอื่นลงเขตนั้นอีก   เพราะประชาชนไม่เอาแล้ว   พรรคใหม่และผู้สมัครรายใหม่ที่ดีกว่าก็จะถือโอกาสส่งผู้สมัครลงให้เลือก    นักการเมืองเก่าที่เลวมากเลวน้อยก็จะหมดไปจากเขตและประเทศชาติของเรา

            ทั้งหมดนี้    ไม่ได้พูดตามพันธมิตร     ไม่ได้คิดตามนักกฎหมายที่เอียงซ้าย - เอียงขวาหาผล

ประโยชน์ ไม่ได้เขียนด้วยโกรธหรือชอบฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด... ขอยืนยันในความเป็นกลางและเป็นจริง

 

                                                                            พระราชวิจิตรปฏิภาณ