ราชสีห์เกลียดกลิ่นขี้ที่ติดตัวหมู

มีคำถามว่า"ทำไปหมูจึงเกลือกขี้ตลอดเวลา" เรื่องนี้ในพระไตรปิฎก สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสเล่าอดีตว่า มีอยู่ชาติหนึ่ง พระองค์เป็นราชสีห์หนุ่ม อยู่รวมกลุ่มไม่ไกลกับอาศรมบทของพระฤาษีที่รวมกลุ่มบำเพ็ญตบะ ในที่ไกลออกไปคนละแถบมีกลุ่มสุกรอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก ในฝูงสุกรนั้น มีสุกรหนุ่มหัวดื้อ มีร่างกายใหญ่โต ชอบอวดอำนาจเกเรสุกรด้วยกันจนเป็นที่เอือมระแาของสุกรทั้งหลาย อยู่มาวันหนึ่งสุกรจอมกร่างไปเจอราชสีห์หนุ่ม ด้วยความบ้าระห่ำ มันเขี้ยว จึงท้าราชสีห์ต่อสู้กัน ราชสีห์รับท้า เจ้าสุกรตัวกร่างกลับเข้าฝูงก็คุยให้สุกรทั้งหลายทราบเรื่อง สุกรที่เป็นนายฝูงบอกว่าการสู้กับราชสีห์ผู้เป็นเจ้าป่าไม่สามารถเอาชนะได้เลย ว่าแล้วจึงบรรยายอำนาจของราชสีห์ สรุปว่าเพราะเหตุนี้หมู่สุกรจึงจึงต้องหนีห่างจากราชสีห์ / เมื่อสุกรจอมกร่างได้ฟังก็เกิดความกลัวปรึกษาหาทางที่จะไม่ต้องสู้กับราชสีห์ สุกรอาวุโสตัวหนึ่งจึงแนะอุบายว่าธรรมดาราชสีห์เกลียดความสกปรกโสโครก จึงไม่กินเนื้อสัตว์เน่า เห็นจะรอดทางเดียวคือให้สุกรตัวนี้ไปเกลือกที่บ่อถ่ายอุจจาระของฤาษีที่ถ่ายร่วมในเว็จเดียวกัน เมื่อเกลือกแล้วก็ขึ้นมาผึ่งใหแห้ง แล้วเกลือกต่อ ทำอย่างนี้เจ็ดวัน พอถึงเวลาให้ไปยืนที่ขอบสระตรงกันข้ามกับราชสีห์ แต่ยืนทิศเหลือลม ถ้าราชสีห์ได้กลิ่นก็จะหนีไปเอง สุกกรตัวนี้ก็ทำตามอุบายสุกรอาวุโสตัวนั้น / ครั้นถึงเวลาตามนัด กลุ่มสุกรก็ไปยืนขอบสระน้ำทิศเหนือลมโดยมีสุกรจอมอหังการยืนอยุ่ ส่วนฝูงราชสีห์ก็มาตามนัด ครั้นเมื่อราชสีห์หนุ่นได้กลิ่นอุจจาระที่สุกรตัวนั้นคลุกมาตอดเจ็ดวันก็เกิดความรังเกียจ ราชสีห์ทุกตัวก็เกิดความรังเกียจ จึงพากันกลับที่อยู่ของตน สุกรตัวนั้นก็พ้นจากความตาย จึงพากันสั่งสอนว่าให้เกลือกอุจจาระและสิ่งปฏิกูลก็จะรอดตายจากเขี้ยวเล็บของๆเจ้าป่าคือราชสีห์และเสือ / เรื่องนี้สอนอะไรก็ใช้วิจารณญาณคิดกันเอง

เขาเกลียดในความชั่ว ใช่เขากลัวไม่กล้าสู้

 ราชสีห์หนีเจ้าหมู  เพราะไม่สู้กลิ่นอาจม

 ราชสีห์ผู้มีเกียรติ  อย่ากรายเฉียดหมูขี้ข่ม

 แม้ถูกคุยถล่ม  อย่าไปดมกลิ่นน้ำลาย