❖ พระคาถาภาวนามีบุตร

คาถาภาวนาสำหรับคนอยากมีลูก

การที่คู่ครองบางคู่ไม่มีบุตร ธิดา เพื่อเป็นพยานรักและสืบสกุล สือต่อธุรกิจ    และเป็นทายาทรับมรดก ย่อมเป็นความทุกข์ของคู่ครอง  อีกทั้งเป็นความทุกข์ของตระกูลทั้งสองฝ่าย  ทุกข์เพราะเมื่อชราภาพแล้วจะหาใครมาดูแลเฝ้าปฏิบัติช่วยเหลือ  ยามป่วยไข้ก็ไม่มีใครดูแลรักษา  ครั้นมรณาก็ไม่มีใครจัดการงานศพได้  การขวนขวายเพื่อการมีบุตรจึงมีวิธีการหลายอย่าง  มีทั้งพิธีทางไสยศาสตร์จากศาสนาต่าง ๆ  รวมทั้งลัทธิเถื่อน ๆ  มีการขอจากพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์  ขอจากรุกเทวดา  ศาลเจ้า  การบนบานศาลกล่าว  รวมถึงการปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญให้มีการผสมด้วยวิชาการทางวิทยาศาสตร์สมัยใหม่  ที่ได้ก็พากันดีใจ  ที่ไม่ได้ก็พากันทุกข์ใจ  ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเห็นใจเป็นอย่างยิ่ง

มีคำพูดที่ได้ยินเสมอมาว่า ... “ทำไมคนรวยจึงมีลูกยาก  แต่คนจนละก็หัวปีท้ายปีเชียว”... คำพูดนี้เป็นเรื่องน่าคิด  บ้างก็ว่าที่คนรวยไม่ค่อยมีลูกหรือไม่มีลูกเอาเสียเลยเพราะว่าเด็กไม่มีบุญ จึงไม่มาเกิดเป็นลูกคนรวย  เออ... ถ้าพูดอย่างนี้  เด็กที่มาเกิดเป็นลูกคนจนก็กลายเป็นเด็กมีบาปละซี  อย่างนี้ก็ดูไม่ยุติธรรมเท่าไรสำหรับคนจน

การที่คนรวยมีลูกยาก  คนจนมีลูกง่าย  เดี๋ยวเกิด ๆ  มันเพราะอะไรกันแน่  ข้อนี้อาตมาจะพิเคราะห์ให้ทราบบางประเด็น  ซึ่งท่านผู้อ่านจะต้องไมคิดว่า...”แหม  รู้เกินความเป็นพระ”...ซึ่งก็อยากจะบอกว่า...”พระรู้อะไรที่เป็นเรื่องของทางโลกบ้างไม่ได้หรือ  รู้แล้วมัยผิดศีลหรือเปล่า  นั่นแหละเป็นเรื่องสำคัญ”....พระอย่างอามตาก็อยู่ในแวดวงของคนนี่แหละ   อยู่มาทั้งคนจนคนรวย

คราวนี้ก็มาหาคำตอบที่มีความเป็นไปได้ของการมีลูกระหว่างคนจนกับคนรวย  จะได้เป็นบรรทัดฐานในการดำเนินชีวิตในเหตุผลที่เป็นจริงอีกมุมหนึ่ง

คำถามแรกว่า...”ทำไมคนจนมีลูกง่าย  มีลูกดก  เดี๋ยวติด  เดี๋ยวติด” ... คำตอบก็น่าจะอยู่ที่ว่าคนจนนั้นเวลามีคู่ครองก็มักจะอยู่ในบ้านเดียวกันซึ่งเป็นบ้านรวม  ห้องหับสำหรับเป็นการส่วนตัว  ซึ่งเป็นเรือนหอที่แยกตัวไปก็ไม่มี  บางคู่ก็อยู่ในแค้มป์คนงานซึ่งมีสังกะสีกั้นบ้าง  มีไม้อัดกั้นบ้าง   เมื่อเป็นเช่นนี้  การมีเพศสัมพันธ์ด้วยกันแล้วก็ต้องนอนอยุ่จนกระทั่งเช้ามืด  ไม่มีโอกาสชำระร่างกายเพราะถ้าสามีภรรยาคู่ใด   อาบน้ำตอนดึก  ก็จะไม่เป็นที่รู้กันว่า...แล้ว  ทั้งจะเป็นเรื่องล้อเลียนกันในเวลาเช้า  การที่ต้องนอนจนกว่าจะถึงเวลาที่คนทั่วไปเขาอาบน้ำชำระร่างกาย จึงเป็นโอกาสที่บรรดาเจ้าตัวเล็ก ๆ  ทั้งหลาย  จะได้แข่งขันกันเพื่อปฏิสนธิ  ใครแข็งแรงกว่าก็จะกลายเป็นผู้ชนะ  ที่สามารถฟันฝ่าอุปสรรคไปเกิดได้อย่างผู้ที่แข็งแรง  คนจนจึงมีลูกง่ายด้วยประการฉะนี้ !  แล้วสังเกตได้ว่าลูกคนจนมันโคตรอึด  อดทน  สุขภาพดี   ไม่ค่อยมีโรคภัยไข้เจ็บ  เพราะมันแข็งแรงตั้งแต่ยังเป็นเจ้าตัวน้อยนักต่อสู้   จอมทรหดอดทน  ภูมิต้านทานก็ดี   เกิดมาสกปรกมอมแมม  ไม่เห็นมันเป็นอะไร

คำถามต่อมา... “ทำไมคนรวยจึงมีลูกยาก” ...มันก็อาจจะเกี่ยวกับบุญกุศลที่ทำร่วมกันในอดีตชาติบ้าง  แต่เหตุผลที่น่าวิเคราะห์อีกประการหนึ่งคือ  คนรวยเวลาแต่งงานก็มีบ้านห้องหับ  ห้องน้ำส่วนตัวซึ่งติดกับห้องนอนเป็นของตนอง  ไม่ต้องไประแวงต่อหูตาหรือการสังเกตสังกาจากคนรอบข้าง   เรียกว่ามีความเป็นส่วนตัวสูงกว่าคนจน   ครั้นเมื่อมีเพศสัมพันธ์กันแล้วก็รู้สึกว่าเนื้อตัวสกปรก  ก็เลยรีบชำระร่างกายเสียให้สะอาด   โดยมิได้รู้เลยว่าบรรดาเจ้าตัวน้อยทั้งหลายที่กำลังจะปฏิสนธินั้นถูกกำจัดในเวลาอันรวดเร็วด้วยการทำความสะอาดร่างกาย  ต้องหลุดร่วงมาตายครั้งแล้วครั้งเล่า  ต้องเผชิญญต่อกรดด่างซึ่งเป็นเครื่องชำระร่างกายเพื่อความสะอาดต้องมาตายเพราะกรดด่าง  ไม่มีโอกาสที่จะอยู่ในท้องของผู้เป็นแม่สักคนหนึ่งเหมือนคนจนที่เขาอยู่กัน

เอ้า...คนบางคู่ก็มีเหตุผลที่จะต้องคุมกำเนิดด้วยคำว่า...ยังไม่พร้อมจะมีลูก....การคุมกำเนิดที่ต้องกินยาเพื่อกำจัดเจ้าตัวน้อย ๆ  นับแสนตัวแต่ละครั้งได้ไปทำลายแผ่นดินถิ่นเกิดของพวกเขาเสียหมด   เหมือนกับว่าชาวสวนชาวนาต้องการกำจัดหญ้าไม่ให้ขึ้น   จึงฉีดยาฆ่าหญ้าซ้ำแล้วซ้ำเล่า  จนพิษของยานั้นตกค้างบนพื้นดิน  สะสมสารพิษไว้มาก  พอชาวสวนชาวนาจะปลูกพืชไร่ก็ปลูกไม่ขึ้น  เพราะพื้นดินถูกสารพิษทำลาย  ต้องใช้เวลาฟื้นฟูพื้นดิน  บางทีก็ฟื้นไม่ขึ้น   เปรียบเหมือนคนที่กินยาคุมชนิดแรง  ทำให้แดนเกิดของบุตรหมดคุณภาพ  อีกทั้งเมล็ดพืชที่จะปลูกคือเชื้อของผู้ชายก็คุณภาพต่ำไปตามอายุ   ก็เลยเป็นให้ไม่สามารถจะมีบุตรได้  หรือต้องใช้เวลาฟื้นฟูกันด้วยทุนมหาศาล    โธ่...ถ้าแต่งกันแล้วก็รีบมีไปเถอะ   คำว่ายังไม่พร้อมเป็นคำแก้ตัวแบบบ้า ๆ  ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ก็เพราะเห็นมากับตา   และทั้งเคยอยู่กับแพทย์แผนไทย  แพทย์แผนปัจจุบัน  ได้เห็นพฤติกรรมทั้งหลายทั้งมวลมา   และก็สามารถแก้ไขให้คนรวยบางคนได้มีบุตรด้วย  ให้ไอ้ตัวเล็ก ๆ มันมีโอกาสอยู่ในท้องของคนที่จะเป็นแม่มันสัก ๘-๙ ชั่วโมง  ต่อหนึ่งครั้ง-หนึ่งคืน  แล้วก็มีลูกได้จริง ๆ

มีแพทย์โทรศัพท์ไปถามว่าถ้าจะผสมเทียม  จะมีคาถาสวดเสกบ้างไหม   เพราะว่าบางคนต้องทำแล้วทำอีก  สงสารทั้งคนที่อยากเป็นพ่อแม่  สงสารเด็กที่ผสม  ทำอย่างไรจึงจะให้ประสบความสำเร็จของทุกฝ่าย  ขอคาถาเสกสวดด้วย  เพราะได้ยินบางคนเขาพูดว่าเขามีถาคา

นับได้ว่าถามตรงคนทีเดียว  เพราะบรราดพวกหมอผีขี้โม้ทั้งหลายก็ฉวยเอาคาถาบ้า ๆ  บอ ๆ  มาสวด  วิญญาณที่ไม่ดีก็มาปฏิสนธิ  คราวนี้ก็ยิ่งยุ่งกันใหญ่  มีลูกได้   แต่จิตวิญญาณที่มาปฏิสนธิเป็นจิตวิญญาณที่มาจากภพภูมิที่ไหนก็ไม่รู้  ต้องมาแก้ไขปัญหาหลังเกิด

ที่ว่า “ถามตรงคนทีเดียว”  ก็เพราะว่าอาตมาเป็นศิษย์วัด  อยู่กับหลวงปู่ซึ่งท่านเสกรัก – ยม กุมารทอง  นางกวัก  ปลูกเสกปลัดขิกเขี้ยวงา  ได้รับความรู้จากท่าน   ท่านเสกล้วยให้คลอดบุตรง่าย  ความรู้นั้นได้มาใช้เรื่อยมา  หน้าฉากของอาตมาก็ดูเหมือนเป็นนักก่อสร้าง นักเทศน์  นักเขียน  แต่โดยความเป็นจริงก็คือนักสวด นักเสก  จึงขอแนะนำวิธีการทำให้มีบุตร  ดังนี้

๑. จัดขันใส่ข้าวสารค่อนขัน  เทียนปักกลางขันหนึ่งเล่ม  ธูปจุด ๓  ดอก  ดอกไม้ใส่กรวยใบตอง

     หนึ่งกรวย น้ำสะอาดหนึ่งขวด

๒. ผู้ที่อยากมีบุตร  หรือ  แพทย์  ต้องทำจิตให้อยู่ในพรหมวิหารธรรม

๓. สวดพระคาถาดังต่อไปนี้จนจบ

 

                               

                     นะโม  ตัสสะ  ภะคะวะโต  อะระหะโต  สัมมาสัมพุทธัสสะ

                  นะโม  ตัสสะ  ภะคะวะโต  อะระหะโต  สัมมาสัมพุทธัสสะ

                  นะโม  ตัสสะ  ภะคะวะโต  อะระหะโต  สัมมาสัมพุทธัสสะ

 

โอม  นะโม  ธัมมะระตะนัง  สะระณัง  คัจฉามิ

โอม  นะโม  สังฆะระตะนัง  สะระณัง  คัจฉามิ

 

สัพเพ  ยามา   เทวา   อาคัจฉามะ                      สัพเพ    ตุสิตา  เทวา  อาคัจฉามะ

สัพเพ นิมมานะระตี เทวา อาคัจฉามะ  สัพเพ ปะระนิมมิตะวะสะวัสตี เทวา   อาคัจฉามะ     

                                                อุกาสะ   อาราธะนัง   กะโรมิ

ปะฐะวี   อาโป   เตโช   วาโย   จิตติจุตัง   อะระหัง   จุติ   สะวาหายะ ฯ



บทอาการ ๓๒ ประการ

 

บทปัจจยาการ  ฝ่ายเกิด

 

บทโพชฌังคปริตร

 

            โพชฌังโค   สะติสังขาโต   ธัมมานัง   วิจะโย   ตะถา,   วิริยัมปีติ   ปัสสัทธิ   โพชณังคา     จะ   ตะถา  ปะเร,      สะมาธุเปกขะโพชฌังคา     สัตเต   เต     สัพพะทัสสินา,   มุนินา    สัมมะทักขาตา     ภาวิตา   พะหุลีกะตา   สังวัตตันติ อะภิญญายะ,  นิพพานายะ   จะ   โพธิยา,   เอเตนะ  สัจจะวัชเชนะ   โสตถิ   เต   โหตุ   สัพพะทา.   

            เอกัสมิง  สะมะเย   นาโถ   โมคคัลลานัญจะ   กัสสะปัง,   คิลาเน   ทุกขิเต  ทิสสะวา   โพชฌังเค   สัตตะ   เทสะยิ, เต   จะ   ตัง   อะภินันทิตะวา   โรคา   มุจจิงสุ   ตังขะเณ,   เอเตนะ  สัจจะวัชเชนะ โสตถิ  เต  โหตุ  สัพพะทา.

            เอกะทา   ธัมมะราชาปิ  เคลัญเญ   นาภิปีฬิโต,   จุนทัตเถเรนะ   ตัญเญวะ   ภะณาเปตะวานะ  สาทะรัง,               สัมโมทิตะวา   จะ   อาพาธา  ตัมหา   วุฏฐาสิ   ฐานะโส,   เอเตนะ  สัจจะวัชเชนะ  โสตถิ  เต  โหตุ   สัพพะทา.

            ปะหีนา   เต  จะ  อาพาธา,  ติณณันนัมปิ   มะเหสินัง,   มัคคาหะตะกิเลสา วะ  ปัตตานุปปัตติ   ธัมมะตัง,  เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ  โสตถิ  เต  โหตุ  สัพพะทา ฯ

 

รัตนตรัยโอสถ

 

            อิติปิ โส   ภะคะวา,  อะระหัง  สัมมาสัมพุทโธ,  วิชชาจะระณะสัมปันโน   สุคะโต   โลกะวิทู,   อะนุตตะโร    ปุริสะทัมมะสาระถิ   สัตถา  เทวะมะนุสสานัง  พุทโธ   ภะคะวาติ.  

            สักกัตตะวา  พุทธะระตะนัง  โอสะถัง  อุตตะมัง  วะรัง  หิตัง  เทวะมะนุสสานัง   พุทธะเตเชนะ  โสตถินา     นัสสันตุปัททะวา   สัพเพ   ทุกขา  วูปะสะเมนตุ   เต ฯ

            สะวากขาโต   ภะคะวะตา   ธัมโม,    สันทิฏฐิโก   อะกาลิโก   เอหิปัสสิโก,   โอปะนะยิโก   ปัจจัตตัง   เวทิตัพโพ วิญญูหีติ.

          สักกัตตะวา   ธัมมะระตะนัง  โอสะถัง   อุตตะมัง   วะรัง   ปะริฬาหูปะสะมะนัง   ธัมมะเตเชนะ  โสตถินา              นัสสันตุปัททะวา   สัพเพ  ภะยา  วูปะสะเมนตุ   เต ฯ

            สุปะฏิปันโน    ภะคะวะโต   สาวะกะสังโฆ,   อุชุปะฏิปันโน    ภะคะวะโต    สาวะกะสังโฆ,   ญายะปะฏิปันโน        ภะคะวะโต   สาวะกะสังโฆ,    สามีจิปะฏิปันโน    ภะคะวะโต   สาวะกะสังโฆ,  ยะทิทัง   จัตตาริ  ปุริสะยุคานิ   อัฏฐะ          ปุริสะปุคคะลา,  เอสะ   ภะคะวะโต   สาวะกะสังโฆ,   อาหุเนยโย   ปาหุเนยโย   ทักขิเณยโย   อัญชะลีกะระณีโย,               อะนุตตะรัง  ปุญญักเขตตัง   โลกัสสาติ

          สักกัตตะวา   สังฆะระตะนัง   โอสะถัง   อุตตะมัง  วะรัง   อาหุเนยยัง   ปาหุเนยยัง  สังฆะเตเชนะ   โสตถินา   นัสสันตุปัททะวา  สัพเพ  โรคา  วูปะสะเมนตุ  เต ฯ

 

 

            สิริธิติมะติเตโชชะยะสิทธิมะหิทธิมะหาคุณาปะริมิตะปุญญาธิการัสสะ   สัพพันตะรายะนิวาระณะสะมัตถัสสะ ภะคะวะโต   อะระหะโต   สัมมาสัมพุทธัสสะ   ทะวัตติงสะมะหาปุริสะลักขะณานุภาเวนะ   อะสีตะยานุพะยัญชะนานุ- ภาเวนะ   อัฏฐุตตะระสะตะมังคะลานุภาเวนะ   ฉัพพัณณะรังสิยานุภาเวนะ  เกตุมาลานุภาเวนะ   ทะสะปาระมิตานุ-     ภาเวนะ  ทะสะอุปะปาระมิตานุภาเวนะ   ทะสะปะระมัตถะปาระมิตานุภาะเวนะ  สีละสะมาธิปัญญานุภาเวนะ          พุทธานุภาเวนะ    ธัมมานุภาเวนะ   สังฆานุภาเวนะ  เตชานุภาเวนะ   อิทธานุภาเวนะ  พะลานุภาเวนะ  เญยยะธัมมานุภาเวนะ   จะตุราสีติสะหัสสะธัมมักขันธานุภาเวนะ   นะวะโลกุตตะระธัมมานุภาเวนะ   อัฏฐังคิกะมัคคานุภาเวนะ   อัฏฐะสะมาปัตติยานุภาเวนะ   ฉะฬะภิญญานุภาเวนะ   จะตุสัจจะญาณานุภาเวนะ   ทะสะพะละญาณานุภาเวนะ   สัพพัญญุตะญาณานุภาเวนะ    เมตตากะรุณามุทิตาอุเปกขานุภาเวนะ    สัพพะปะริตตานุภาเวนะ    ระตะนัตตะยะสะ-ระณานุภาเวนะ  ตุยหัง   สัพพะโรคะโสกุปัททะวะทุกขะโทมะนัสสุปายาสา   วินัสสันตุ   สัพพะอันตะรายาปิ   วินัสสันตุ   สัพพะสังกัปปา  ตุยหัง  สะมิชฌันตุ ทีฆายุตา  ตุยหัง  โหตุ  สะตะวัสสะชีเวนะ สะมังคิโก  หตุ   สัพพะทา   อากาสะปัพพะตะวะนะภูมิคังคามะหาสะมุททา อารักขะกา  เทวะตา  สะทา  ตุมเห  อะนุรักขันตุ ฯ

            นักขัตตะยักขะภูตานัง   ปาปัคคะหะนิวาระณา                      ปะริตตัสสานุภาเวนะ  หันตะวา   เตสัง   อุปัททะเว

            นักขัตตะยักขะภูตานัง   ปาปัคคะหะนิวาระณา                      ปะริตตัสสานุภาเวนะ  หันตะวา   เตสัง   อุปัททะเว

            นักขัตตะยักขะภูตานัง   ปาปัคคะหะนิวาระณา                      ปะริตตัสสานุภาเวนะ  หันตะวา  เตสัง  อุปัททะเว ฯ

            ภะวะตุ   สัพพะมังคะลัง   รักขันตุ   สัพพะเทวะตา                 สัพพะพุทธานุภาเวนะ   สะทา  โสตถี   ภะวันตุ   เต

            ภะวะตุ   สัพพะมังคะลัง   รักขันตุ   สัพพะเทวะตา                 สัพพะธัมมานุภาเวนะ   สะทา  โสตถี   ภะวันตุ   เต

            ภะวะตุ   สัพพะมังคะลัง    รักขันตุ   สัพพะเทวะตา                สัพพะสังฆานุภาเวนะ   สะทา  โสตถี  ภะวันตุ เต ฯ

            สิทธิกิจจัง     สิทธิกัมมัง     สิทธิลาโภ    ชะโย   นิจจัง    สิทธิเตโช   นิรันตะรัง   สัพพะสิทธิ   ภะวันตุ   เม ฯ

 

บทกรวดน้ำ  อิมินา

                        อาจะริยูปะการา       จะ                       มาตาปิตา    จะ     ญาตะกา

                        สุริโย   จันทิมา    ราชา                        คุณะวันตา   นะราปิ      จะ

                        พ์รัห์มะมารา   จะ  อินทา จะตุ-            โลกะปาลา   จะ           เทวะตา

                        ยะโม  มิตตา   มะนุสสา   จะ               มัชฌัตตา เวริกาปิ จะ

                        สัพเพ สัตตา สุขี โหนตุ                       ปุญญานิ ปะกะตานิ เม

                        สุขัญจะ ติวิธัง เทนตุ                           ขิปปัง ปาเปถะ โว มะตัง

                                    อิมินา   ปุญญะกัมเมนะ           อิมินา   อุททิเสนะ    จะ

                        ขิปปาหัง   สุละเภ   เจวะ                     ตัณหุปาทานะเฉทะนัง

                        เย   สันตาเน   หินา   ธัมมา                  ยาวะ  นิพพานะโต   มะมัง

                        นัสสันตุ    สัพพะทาเยวะ                    ยัตถะ  ชาโต   ภะเว   ภะเว

                        อุชุจิตตัง   สะติปัญญา                         สัลเลโข   วิริยัมหินา

                        มารา   ละภันตุ   โนกาสัง                    กาตุญจะ   วิริเยสุ     เม

                        พุทธาทิปะวะโร    นาโถ                      ธัมโม   นาโถ   วะรุตตะโม

                        นาโถ   ปัจเจกะพุทโธ   จะ                  สังโฆ   นาโถตตะโร   มะมัง

                        เตโสตตะมานุภาเวนะ                         มาโรกาสัง   ละภันตุ    มา  ฯ

 

๔. เมื่อสวดเสร็จแล้วดับเทียน  เอาขี้ธูปและก้านธูปออก  เอาดอกไม้บูชาพระ  ให้ดื่มน้ำมนต์  ๓

     อึก  อธิษฐานให้ดี

๕. ข้าวสารให้นำขี้ธูปออก  แล้วหุงรับประทาน

๖. ครั้นเมื่อตั้งครรภ์แล้ว  ให้เสกกล้วยน้ำว้ารับประทาน  เด็กจะมีสุขภาพดี  ไม่มีโรคภัยรบกวน

๗. ขณะตั้งครรภ์  ให้ใส่บาตรด้วยกล้วยน้ำว้าแก่พระชราภาพ  เดือนละ  ๑  หวี  อุทิศกุศลด้วย

     การกรวดน้ำบท อิมินา ฯลฯ

๘. ถ้าเป็นแพทย์  เวลาสวด  ต้องสวดเฉพาะเชื้อที่จะผสม  อาจโยงสายสิญจน์ไปที่ตั้งตู้เก็บเชื้อ

     ก็ได้  เป็นการปลุกทารกให้แข็งแรง  เพราะเขานอนหนาวมานาน

 

เท่านี้ก็จะประสมความสำเร็จ

ขอให้มีความมั่นใจในพุทธคุณคาถา

(พระราชวิจิตรปฏิภาณ)

 

วัดสุทัศนเทพวราราม

 

                                    อิมินา   ปุญญะกัมเมนะ           อุปัชฌายา        คุณุตตะรา

 

มงคลจักรวาลใหญ่

 

            อวิชชาปัจจะยา   สังขารา   สังขาระปัจจะยา,  วิญญานัง   วิญญาณะปัจจะยา,  นามะรูปัง  นามะรูปะปัจจะยา  สะฬายะตะนัง    สะฬายะตะนะปัจจะยา,   ผัสโส     ผัสสะปัจจะยา      เวทะนา       เว ทะนาปัจจะยา,  ตัณหา  ตัณหาปัจจะยา     อุปาทานัง   อุปาทานะปัจจะยา,   ภะโว  ภะวะปัจจะยา   ชาติ   ชาติปัจจะยา, ชะรามะระณัง   โสกะปะริเทวะทุกขะโทมะนัสสุปายาสา   สัมภะวันติ,   เอวะเมตัสสะ  เกวะลัสสะ   ทุกขักขันธัสสะ   สะมุทะโย   โหติ ฯ

 

            อัตถิ   อิมัสสะมิง  กาเย,  เกสา  โลมา  นะขา  ทันตา  ตะโจ  มังสัง  นะหารู  อัฏฐิ   อัฏฐิมิญชัง  วักกัง  หะทะยัง        ยะกะนัง  กิโลมะกัง   ปิหะกัง   ปัปผาสัง   อันตัง   อันตะคุณัง   อุทะริยัง   กะรีสัง  ปิตตัง  เสมหัง  ปุพโพ  โลหิตัง   เสโท  เมโท     อัสสุ  วะสา  เขฬา  ละสิกา   มุตตัง   มัตถะเก   มัตถะลุงคันติ ฯ

 

            สัพเพ  จาตุมมะหาราชิกา  เทวา  อาคัจฉามะ   สัพเพ   ตาวะติงสา   เทวา   อาคัจฉามะ

 

โอม  นะโม  พุทธะระตะนัง  สะระณัง  คัจฉามิ